เทวภูมิ ๖ (สวรรค์ ๖) แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วย กามคุณ ทั้ง ๕ โลกของ เทวดา ตามปกติหมายถึง กามาพจรสวรรค์

๑.จาตุมหาราชิการ (สวรรค์ชั้นที่ ๑) สวรรค์ที่ท้าวมหาราช ๔ องค์ ปกครอง

จาตุมหาราชิกา มีมหาราช ๔ องค์

๑. ท้าววธตรัฐะ มหาราช         เป็นผู้ปกครอง คันธัพพเทวดา  ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก

๒. ท้าวิรุฬหกะ มหาราช          เป็นผู้ปกครอง กุมภัณฑ์เทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศใต้

๓. ท้าววิรูปักษ์            มหาราช          เป็นผู้ปกครอง นาคะเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก

๔. ท้าวเวสสุวรรณ มหาราช    เป็นผู้ปกครอง ยักขเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศเหนือ

     (ท้าวกุเวร หรือ เวสสวัณ)

      ท้าวมหาราช ทั้ง ๔ องค์นี้ เป็นผู้รักษาโลกมนุษย์ด้วย จึงชื่อว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวโลกบาล ๔

      พระเจ้าพิมพิสาร เอง แม้จะเป็น พระโสดาบัน แต่ก็พอใจสวรรค์ชั้นนี้

      ได้เกิดเป็นบริวารของ ท้าวเวสสุวรรณมหาราช

 

เทวดาที่อยู่ภายใต้อำนาจปกครองของ ท้าวจาตุมหาราช

๑. ปัพพตัฏฐเทวดา                  เทวดาที่ อาศัยภูเขาอยู่

๒. อากาสัฏฐเทวดา                 เทวดาที่ อาศัยอยู่ในอากาศ

๓. ขิฑฑาปโทสิกเทวดา          เทวดาที่ มีความเพลิดเพลินในการเล่นกีฬา จนลืมบริโภคอาหาร แล้วตาย

๔. มโนปโทสิเทวดา                เทวดาที่ ตายเพราะความโกรธ

๕. สีตวลาหกเทวดา                เทวดาที่ ทำให้อากาศเย็นเกิดขึ้น

๖. อุณหวลาหกเทวดา             เทวดาที่ ทำให้อากาศร้อนเกิดขึ้น

๗. จันทิมเทวปุตตเทวดา         เทวดาที่ อยู่ในพระจันทร์

๘. สุริยเทวปุตตเทวดา             เทวดาที่ อยู่ในพระอาทิตย์

 

ยักษิณี              นางยักษ์

ยักษ์                 มีความหมายหลายอย่าง แต่ที่ใช้บ่อยหมายถึง อมนุษย์ พวกหนึ่ง เป็นบริวารของ ท้าวกุเวรตามที่ถือกันมาว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัง มีเขี้ยวโง้ง ชอบกินมนุษย์กิสัตว์ โดยมามีฤทธิ์ เหาะได้ จำแลงตัวได้

เทวดา              หมู่ เทพ ชาว สวรรค์ เป็นคำรามเรียกชาว สวรรค์ ทั้งเพศชายและเพศหญิง

 

เทวดาตามที่อยู่อาศัย

๑. ภุมมัฎฐเทวดา         เทวดาที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน เช่น ภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร ใต้พื้นดิน บ้านเรือน ซุ้มประตู เจดีย์ ศาลา เป็นต้น ถือว่าที่นั้น ๆ เป็นวิมานของตน

๒. รุกขเทวดา              เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ มี ๒ จำพวก คือ

                                    ๒.๑ มีวิมานอยู่บนต้นไม้ ถ้าอยู่บนยอดต้นไม้              เรียก รุกขวิมาน

                                                                            ถ้าอยู่บนสาขาของต้นไม้     เรียก สาขัฏฐวิมาน

                                    ๒.๒ อยู่บนต้นไม้แต่ไม่มี วิมาน (ที่อยู่ของเทวดา)

๓. อากาสัฏฐเทวดา     เทวดาที่มีวิมานอยู่ในอากาศ

     ในธรรมบทอรรถกถา พุทธวังสอรรถกถา แสดงเทวดาชั้น จาตุมหาราชิกา มี 2 จำพวก โดยจัด

      รุกขะเทวดา อยู่ในจำพวก ภุมมัฎฐะเทวดา เทพารักษ์ เทวดาผู้ดูแลรักษาที่แห่งใดแห่งหนึ่ง

 

เทวดาที่มีใจโหดร้าย

๑. คันธัพโพ คันธัพพี  ได้แก่ เทวดาคันธัพพะ               ที่ถือกำเนิดภายในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม ที่เรียกว่า นางไม้   หรือแม่ย่านาง

                                              หรือ คนธรรพ       ชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ เช่นทำให้เกิดเจ็บป่วย หรือ

                                               หรือ คนธรรพ์      ทำ อันตรายแก่ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นที่นำไม้นั้นมาใช้สอย อยู่ในความ

                                                                           ปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ คันธัพพะเทวดา นี้สิงอยู่ในไม้นั้นตลอดไป  

                                                                           แม้ใครจะตัดไปใช้สอยอย่างใด ๆผิดกับ รุกขเทวดา ที่อาศัยอยู่ตามต้น

                                                                          ไม้ถ้าต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัดฟัน ก็ย้ายจากต้นนั้นไปต้นอื่น

๒. กุมภัณโฑ กุมภัณฑี   ได้แก่ เทวดาภุมภัณฑ์                         ที่เรียกกันว่า รากษส เป็นเทวดาที่รักษาสมบัติต่าง ๆเช่นแก้วมณี   

                                                                                    และรักษาป่า ภูเขา แม่น้ำ ถ้ามีพวกล่วงล้ำ ก็ให้โทษต่าง ๆอยู่ใน

                                                                                    ความปกครองของ ท้าววิรุฬหกะ

๓. นาโค นาคี               ได้แก่ เทวดานาค         ได้แก่เทวดานาค  มีวิชาเวทมนต์คาถาต่าง ๆ ขณะท่องในโลกมนุษย์ บาง

                                                                        ทีก็เนรมิตเป็นคนสัตว์ต่าง ๆ ชอบลงโทษพวกสัตว์นรก อยู่ในความ

                                                                        ปกครองของ ท้าววิรูปักขะ

๔. ยักโข ยักขนี            ได้แก่ เทวดายักษ์        พอใจเบียดเบียนสัตว์นรก อยู่ในความปกครองของ ท้าวเวสสุวรรณ

 

อาการเกิดของเทวดา   ถ้าได้เคยสร้างบุญกุศลไว้มากกพอ ก็ไปเกิดในวิมานของตนเองพร้อมกับมีบริวาร ไม่ต้องเป็น

                                    บุตรธิดาหรือเทวดารับใช้ของผู้ใด

                                    กล่าวไว้ในอรรถกถาบางแห่งเป็นพิเศษ          เทวบุตร คือ บุรุษ ที่เกิดบนตักของเทวดา

                                                                                                            เทวธิดา คือ สตรี ที่เกิดบนตักของเทวดา

                                                            เทวดาสตรี       ถ้าเกิด ในที่นอน  จัดเป็น ปริจาริกา (นางบำเรอ)

                                                                                    ถ้าเกิด ข้างที่นอน จัดเป็น  พนักงานเครื่องสำอาง

                                                                                    ถ้าเกิด กลางวิมาน จัดเป็น คนใช้

 

๒ ดาวดึงส์ (สรรค์ชั้นที่ ๒)     

           แดนแห่งเทพ ๓๓ มีจอมเทพชื่อ ท้าวสักกะ หรือที่เรียกว่า พระอินทร์ เป็นใหญ่สุด เมื่อพระอินทร์องค์หนึ่งสิ้นบุญ จุติ ไป ก็มีพระอินทร์อีกองค์หนึ่งเกิดสืบแทนกันไป ดาวดึงส์ เป็นคำบาลีแปลว่า ๓๓ บางทีก็เรียก ไตรตรึงษ์ ซึ่งเป็นคำสันสกฤต แปลว่า ๓๓ เหมือนกัน

 

            ความเป็นอยู่ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ล้วนแต่เป็นผู้เสวยทิพยสมบัติจากกุศลธรรมในอดีต บริโภคอาหารอันละเอียดสุขุม ชนิดที่เป็น สุธาโภชน์ (ผู้บริโภคอาหารทิพย์) อารมณ์ที่ได้รับจึงล้วนมีแต่ อิฏฐรมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) และไม่มีความเจ็บป่วย ไม่มีอุจจาระ ปัสสาวะ เทวดาผู้ชาย มีความเป็นหนุ่มอยู่ในวัย ๒๐ ปี ส่วนเทวดาผู้หญิงมีความเป็นสาวอยู่ในวัย ๑๖ ปี สวยงามตลอดไปจนตาย มิได้มีความชรา เทวดาผู้หญิงไม่มีประจำเดือนและไม่ต้องมีครรภ์ เว้นแต่ ภุมมัฏฐเทวดา บางองค์ที่ยังมีประจำเดือน และครรภ์เหมือนมนุษย์ความเป็นอยู่ของเทวดาในเทวโลกนี้ เป็นเช่นเดียวกับมนุษย์โลก มีการไปมาหาสู่กันและเบียดเบียนกัน มีความรักใคร่ ปรารถนาเป็นคู่ครองกัน สมบัติของเทวดาเหล่านั้น มีความยิ่งหย่อนกว่ากัน ทั้งบริวาร วิมานและ อิฎฐรมณ์ ต่าง ๆ สุดแต่กรรทที่ตนได้กระทำไว้

 

        โกสิยเทวราช คือ พระอินทร์  เรียก ท้าวโกสีย์ บ้าง ท้าวสักกเทวราช บ้าง

            เทวดาที่อยู่บนชั้นดาวดึงส์ มี ๒ พวก

                        ๑. ภุมมัฏฐเทวดา         ได้แก่ พระอินทร์ และเทวดาชั้นผู้ใหญ่ ๓๒ องค์ พร้อมทั้งบริวาร เทวอสุรา

                                                                       ๕ จำพวก

                        ๒. อากาสัฏฐเทวดา     ได้แก่ พวกเทวดาที่อยู่ในวิมานลอยไปกลางอากาศ

 

                        เทพ     เทพเจ้า             เทวดา

 

เทพ ๓

๑. สมมติเทพ               เทวดาโดยสมมติ ได้แก่ พระราชา พระเทวี และพระราชกุมาร

๒. อุปปัตติเทพ            เทวดาโดยกำเนิด ได้แก่เทวดาใน กามาวจรสวรรค์ และ พรหม ทั้งหลาย เป็นต้น

๓. วิสุทธิเทพ               เทวดาโดยความบริสุทธิ์ ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระอรหันต์ ทั้งหลาย

 

            สุขาวดี             แดนที่มีความสุข เป็นชื่อสวรรค์ของพระอมิตาภพุทธ ฝ่ายมหายาน

 

๓. ยามา (สวรรค์ชั้นที่ ๓)

            แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์ มี ท้าวสุยามเทพบุตร ปกครอง ตั้งแต่ภูมิยามานี้ขึ้นไปตั้งอยู่ในอากาศ จึงไม่มีเทวดา ภุมมัฏฐเทวดา อาศัยอยู่ มีแต่พวก อากาสัฏฐเทวดา พวกเดียว ร่างกายสวยงามประณีต อายุยืนยาวกว่าเทวดาชั้น ดาวดึงส์ มากเป็นภูมิที่สวยงามประณีต ปราศจากความยากลำบาก ไม่มีเรื่องทุกข์ ได้แก่ที่อยู่ของพวกที่รักษา อุโบสถในชั้นฟ้านี้ไม่เห็นพระอาทิตย์เลย เพราะว่าอยู่สูงกว่าพระอาทิตย์มากแต่เทพชั้นนี้เห็นกันได้ด้วยรัศมีแก้ว และด้วยรัศมีของเทพเองจะรู้ว่ารุ่งหรือค่ำด้วยอาศัยดอกไม้ทิพย์ คือ เมื่อเห็นดอกไม้บานจึงรู้ว่ารุ่ง เมื่อเห็นดอกไม้หุบจึงรู้ว่าค่ำ เทพชั้นยามยามาไม่ปรากฏว่าได้ลงมาเกี่ยวข้องกับมนุษย์

 

๔. ดุสิต (สวรรค์ชั้นที่ ๔)

            แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน มี ท้าวดุสิตเทวราช ปกครอง เป็นภูมิของเทวดาผู้อิ่มเอิบด้วยบารมี ผู้มีปัญญา ผู้อยู่ในภูมินี้จึงมีแต่ความชื่นบาน มีวิมานทิพย์ ทิพย์สมบัติ ร่างกายประณีตกว่าเทวดาในชั้น ยามา เป็น ภพ สุดท้ายของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทุกพระองค์ก่อนที่จะมาบังเกิดและตรัสรู้ในมนุษย์โลก

 

            ทิพย์     เป็นของเทวดา             วิเศษ    เลิศกว่าของมนุษย์

 

๕. นิมมานรดี (สวรรค์ชั้นที่ ๕)

            แดนแก่งเทพผู้ยินดีในการนิรมิต มีท้าวสุนิมมิต หรือ นิมมิตเทวราช ปกครองเทวดาชันนี้ปรารถนาสิ่งใด นิรมิตเอาได้ตามความพอใจของตน ไม่มีคู่ครองของตนเป็นประจำ เมื่อใดปรารถนาใคร่เสพ กามคุณ เวลานั้นก็ เนรมิต เทพบุตร หรือเทพธิดาขึ้นมาตามความปรารถนา และเมื่อใดได้เพลิดเพลินกับ กามคุณ นั้นสมใจแล้ว  กามคุณ ที่เนรมิตขึ้นมานั้นก็จะอันตรธานหายไป

 

            พระพุทธเจ้าตรัสว่า

            กัมมัง เขตตัง               กรรม               เป็นเหมือนนา

            วิญญาณัง พีชัง                        วิญญาณ          เป็นเหมือนพืชที่หว่านลงในนา

            ตัณหา สิเนโห              ตัณหา              เหมือนยางเหนียวมีอยู่ในพืช อันจะทำให้พืชนั้นปลูกงอกงามขึ้นได้

                                                                        เพราะฉะนั้น เมื่อยังมี กรรม วิญญาณ และ ตัณหา อยู่ ก็ยังจะต้องไปเกิด

                                                                        ในภพต่าง ๆ คือหมายความว่า ยังมี อวิชชา เป็นเครื่องกั้นอยู่ ยังมี ตัณหา

                                                                        เป็น สังโยชน์ คือเครื่องผูกอยู่

 

๖. ปรนิมมิตวสวัตดี (สวรรค์ชั้นที่ ๖)  

แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่น นิรมิต (บันดาลให้เป็นขึ้นมีขึ้น) ให้

มีเทพเป็นราชาผู้ปกครองอยู่ ๒ ฝ่าย

ฝ่าย เทพยดา    ปรนิมมิตรสวัตตีเทวราช ปกครองเทพไม่เป็นมาร

ฝ่าย มาร (๒)    ปรนิมมิตวสวัตตีเทวราช (ชื่อเหมือนกัน)

                        หรือ พญามาราธิราช หรือ วสวัตตีมาร ปกครองเทพที่เป็นมาร

ฝ่ายมาร(๒) หรือเทวปุตตมาร

เป็น มิจฉาทิฎฐฺ เทวดา ที่ไม่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา มารนี้มีความกลัวเป็นข้อสำคัญอยู่ข้อหนึ่งว่าตนจะสิ้นอำนาจครอบครองโลกไม่ประสงค์ให้ใครทั้งนั้นบรรลุ มรรค ผล นิพพาน เพราะเมื่อผู้ใดพ้นโลก หมายถึงว่ามีจิตใจพ้นกิเลสดังกล่าว ผู้นั้นก็พ้นอำนาจของมารทั้งยังเป็นผู้คอยขัดขวางให้เกิดอุปสรรคต่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เสมอ เมื่อวันที่ พระพุทธองค์ เสด็จอออกบวช พญามารตนนี้ได้มาปรากฏตัว ยกมือห้ามว่าอย่าออกบวชเลย อีกไม่นานเท่าไรท่านก็จะได้เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงขับไล่ออกไป เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญ ทุกรกิริยา ก็มากระซิบบอกว่า บัดนี้พระองค์ก็บรรลุสัมโพธิญาณดังหวังแล้ว ปรินิพพาน เถอะพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า พระองค์จะไม่ ปรินิพพาน จนกว่า พรหมจรรย์ (การประพฤติธรรมอันประเสริฐ) ของพระองค์จะแพร่หลายมั่นคง ครั้นเมื่อเงื่อนไขทุกอย่างพร้อมแล้ว พญามารจึงเข้ามากราบทูลให้ ปรินิพพาน เท่ากับทวงสัญญาว่าบัดนี้ถึงเวลาที่พระองค์จะปรินิพพานแล้วพระพุทธองค์จึงทรง ปลงอายุสังขาร

 

พญามาราธิราช จะต้องทำบุญไว้มาก ไม่เช่นนั้นก็จะไม่บังเกิดในสวรรค์ชั้นสูงนี้ได้ภายหลังละ มิจฉาทิฏฐิ และกลับมาเลื่อมใสในพุทธศาสนา

 

เทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใดไม่ต้องนิรมิตเอง มีเทวดาอื่นที่รับใช้เนรมิตให้ตามต้องการ เป็นภูมิที่มีความสุขและเพลิดเพลินมากเทวดาที่อยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนี้ไม่มีคู่ครองเป็นประจำโดยเฉพาะตน เป็นที่อยู่ของพวกที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นไว้มาก

 

ปลงอายุสังขาร                        ตกลงใจกำหนดการสิ้นสุดอายุ ตกลงพระทัยว่าจะ ปรินิพพาน

ปลงสังขาร                  ทอดอาลัยในกายของตนว่าจะตายเป็นแน่แท้แล้ว

ทุกรกิริยา                     การทำความเพียรอันยากที่ใคร ๆ จะทำได้ ได้แก่การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษด้วยวิธีการทรมานตนต่าง ๆ เช่นกลั้นลม อัสสาสะ (ลมหายใจเข้า) ปัสสาสะ(ลมหายใจออก) และอดอาหาร เป็นต้น เขียนเต็มเป็น ทุกกรกิริยา

                                   

                                    เทวภูมิ หรือ ฉกามาพจรสวรรค์ ทั้ง ๖ ชั้นยังเกี่ยวข้องกับ กามคุณ

เทวภูมิ ๖ (ฉกามาพจรสวรรค์ ๖)

๑. จาตุมหาราชิกา        มีเหมือนมนุษย์

๒. ดาวดึงส์                 มีเหมือนมนุษย์

๓. ยามา                       มีแต่ กายสังสัคคะ (กายสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องด้วยกาย การเคล้าคลึงร่างกาย)

๔. ดุสิต                        มีเพียงจับมือกัน

๕. นิมมานรดี              มีเพียงยิ้มรับกัน

๖. ปรนิมมิตสวัตตี       มีแต่มองดูกัน

ในเทวภูมิไม่มีสัตว์เดรัจฉาน และเมื่อต้องการจะมีม้ารถเทียม ก็จะมีเทพบุตรจำแลง กายของเทวดา เรียกว่าเป็นกายทิพย์ เป็นกายสว่างละเอียด ไม่มีปฏิกูล เกิดเป็น อุปปาติกะ คือ ผุดเกิดขึ้น มีตัวตนโตเต็มที่เลย แต่เป็น อทิสสมานกาย คือ การยที่ไม่ปรากฏแก่ตาคนในเทวภูมิบริบูรณ์ด้วยความสุข อายุก็ยืนยาว แก่เจ็บไม่ปรากฏตายก็ไม่ปรากฏซาก จึงเห็นทุกข์ได้ยาก

 

เทวดาจะจุตุ มี ๔ ประการ

๑. อายุขัย         จุติเพราะสิ้นอายุ         

ได้แก่ เทวดาที่ได้เคยสร้างกุศลมาก็ได้เสวยสมบัติทิพย์จนครบอายุทิพย์ในเทวโลกชั้นที่ตนอยู่นั้น ครั้นหมดอายุแล้วก็จุติ

๒. บุญญขัย     จุติเพราะสิ้นบุญ

ได้แก่ เทวดาที่สร้างสมบุญกุศลไว้น้อย เมื่อกุศลผลบุญที่ได้กระทำไว้หมดสิ้นลงเสีย แต่ในระหว่างยังไม่ถึงอายุขัย จำต้องจุติไปเกิดที่อื่น เพราะหมดบุญแล้ว

๓. อาหารขัย จุติเพราะสิ้นอาหาร

ได้แก่ เทวดาบางจำพวกที่เสวยทิพย์สมบัติ จนลืมบริโภคสุธาโภชนาหารทิพย์อันเป็นปัจจัยแก่กาย และชีวิตถ้าแม้ว่าเขาลืมบริโภคภายหลังสักร้อยครั้งพันครั้ง ก็มิอาจจะซ่อมแซมให้ดีขึ้นมาใหม่

๔. โกธพลขัย   จุติเพราะความโกรธ

            ได้แก่ เทวดาบางจำพวกที่มีจิตริษยาหาเหตุพาล มีความโกรธในหัวใจ

 

จุตินิมิตของเทวดา ๕ ประการ นิมิตล่วงหน้า ซึ่งอุบัติเกิดแก่เทวดาผู้จะต้องจุติ

จุติ       เคลื่อนจาก ภพ หนึ่งไปสู่ ภพ อื่น ตาย (ส่วนมากใช้กับเทวดา)

๑.    ดอกไม้ทิพย์เครื่องประดับเหี่ยวแห้ง

๒.   ผ้าทิพย์เครื่องประดับสำหรับองค์มีสีเศร้าหมอง

๓.   มีเหงื่อไหลออกมาจากรักแร้

๔.   ที่นั่งและที่นอนร้อนดุจมีไฟอยู่ภายใต้

๕.  กายของเทวดาเหี่ยวแห้งเศร้าหมองหารัศมีเช่นก่อนไม่ได้เหน็ดเหนื่อยเมื่อยเนื้อตัวมือตีน มีความกระวนกระวายใจ