สังโยชน์ ๑๐ และอนุสัย ๗

สังโยชน์ ๑๐ กิเลสที่ผูกมัดจิตใจไว้กับทุกข์ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ (เรียงลำดับตาม อริยมรรค)

โอรัทภาคิสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำเป็นอย่างหยาบเป็นในภพอันต่ำ

๑. สักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นเรา เป็นของเรา เป็นว่ามีตัวตน ยึดกายของตน ความเห็นเข้าข้างตน

๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย สงสัยเพราะไม่รู้

๓.สีลัพพตปรามาส ความยึดถือศีลถือพรตอย่างงมงายคิดว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์ คิดว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยสมาธิและปัญญา เชื่อถือโชคลาง เพื่อเชื่อพิธีกรรม เป็นการลูบคลำศีล

๔.กามราคะ ความกำหนัดยินดีใน กามคุณ ๕
         ๑.รูป
         ๒.เสียง
         ๓.กลิ่น                       
         ๔.รส
         ๕.โผฏฐัพพะ

๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งทางใจ ทำให้ไม่พอใจ ความขัดใจ หงุดหงิดด้วยอำนาจ โทสะ

 

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูงเป็นอย่างละเอียดเป็นไปแม้ในภพอันสูง

๖.รูปราคะ ติดใจใน รูปธรรม (สิ่งที่มีรูป) ติดใจในอารมณ์แห่ง รูปฌาน ๔ (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์)

๗.อรูปราคะ ติดใจใน อรูปธรรม ติดใจในอารมณ์แห่ง อรูปฌาน ๔ (ฌานที่มีอรูปธรรมเป็นอารมณ์)

๘.มานะ ความถือตนโดยความรู้สึกว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา

๙.อุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้งซ่าน จิตส่าย ใจวอกแวก

๑๐.อวิชชา ความไม่รู้แจ้ง (ไม่รู้ใน อริยสัจจ์ ๔) อวิชชา ๔

        ๑. ไม่รู้ใน ทุกข์
        ๒. ไม่รู้ใน ทุกขสมุทัย
        ๓. ไม่รู้ใน ทุกขนิโรธ
        ๔. ไม่รู้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
             ไม่รู้ใน อดีต ไม่รู้เหตุการณ์
             ไม่รู้ใน อนาคต
             ไม่รู้ทั้ง อดีต ทั้ง อนาคต
             ไม่รู้ ปฏิจจสมุปบาท

 

อนุสัย ๗ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ใน สันดาน

เหมือนตะกอนนอนอยุ่ที่ก้นภาชนะ ตะกอนจะฟุ้งขึ้นมาทำน้ำให้ขุ่นเพราะมีคนไปกระทบหรือกวนภาชนะฉันใด อนุสัยกิเลสก็เช่นเดียวกัน จะฟุ้งขึ้นมาทำจิตให้ขุ่นมัว ต่อเมื่อมีอารมณ์ภายนอกมากระทบเช่นเดียวกันฉันนั้น

อนุสัย (สังโยชน์๗)
๑. กามราคะ ความกำหนัดในกาม ความอยากได้ติดใจในกาม

๒.ปฏิฆะ ความขัดใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง คือ โทสะ

๓.ทิฏฐิ ความเห็นผิด

๔.วิจิกิจฉา ความลังเล ความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย

๕.มานะ ความถือตัว

๖.ภวราคะ ความกำหนัดในภพ

๗.อวิชชา ความไม่รู้จริง คือ โมหะ

กิเลสานุสัย กิเลสจำพวก อนุสัย กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน จะปรากฏเมื่อ อารมณ์ มายั่วยุเหมือนตะกอนน้ำที่อยู่ก้นโอ่ง ถ้าไม่มีคนกวนตะกอนก็นอนเฉยอยู่ ถ้ากวนน้ำเข้าตะกอนก็ลอยขึ้น

สันดาน ความสืบต่อแห่งจิต คือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกันมา ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่าอุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด

ราคะ ความกำหนัด ความยินดีในกาม ความติดใจ หรือความย้อมใจติดอยู่ในอารมณ์

ราคี ผู้มีความกำหนัด มลทิน เศร้าหมอง มัวหมอง

มลทิน ความมัวหมอง ความไม่บริสุทธิ์ เช่นผ้าขาวเมื่อเป็นจุดสีต่าง ๆ ก็เรียกว่าผ้ามีมลทิน

เวร ความแค้นเคือง ความปองร้ายกัน ความคิดร้ายตอบแก่ผู้ทำร้าย ในภาษาไทยใช้อีกความหนึ่งด้วยว่า คราว รอบ การผลัดกันเป็นคราว ๆ ตรงกับ วาร หรือ วาระ ในภาษาบาลี

กำหนัด ยินดี ความยินดี

โยคธรรม ธรรมคือกิเลสเครื่องประกอบ ในข้อความว่า “ เกษมจากโยคธรรม ” คือ ความพ้นภัยจากกิเลส

โยคะ ๑.กิเลสเครื่องประกอบ คือประกอบสัตว์ไว้ในภพ หรือผูกสัตว์ดุจเทียมไว้กับแอก มี ๔ คือ
                     ๑. กาม ๒. ภพ ๓. ทิฏฐิ ๔. อวิชชา

         ๒.ความเพียร